เครื่องตัดหญ้า เป็นอุปกรณ์ที่คนมีบ้านเดี่ยว หรือมีสนามหญ้าควรมีติดบ้านไว้ซักเครื่อง เพราะถ้าไม่หมั่นดูแลสนามหญ้าแล้วล่ะก็ ในอนาคตมันจะสร้างปัญหาใหญ่ทิ้งไว้ให้อย่างแน่นอนไม่ว่าจะเป็น เรื่องของ ทัศนียภาพ ความสวยงามโดยรวม แมลง และสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ จะเข้ามาสิงสู่ในบ้านเรา แต่ งานตัดหญ้านั้นต้องใช้แรงกาย แรงใจมากทีเดียว และหญ้ากับสภาพภูมิประเทศเมืองไทยก็ขยันงอกกันเสียเหลือเกิน จะให้ใช้ กรรไกรตัดหญ้าก็คงจะไม่ไหว ดังนั้น เครื่องตัดหญ้าจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรมีติดบ้านไว้ซักเครื่อง เพื่อทุ่นแรงประหยัดเวลาแถมยังได้สนามหญ้าที่ดูสวยสะอาดตากันอีกด้วย

ดังนั้นวันนี้ WASABI จึงจะมาแนะนำ เกี่ยวกับเครื่องตัดหญ้า 2 จังหวะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเครื่องยนต์ ข้อดีข้อเสีย และวิธีการใช้งานเพื่อช่วยให้เพื่อนๆได้มีข้อมูลในการตัดสินใจซื้อเครื่องตัดหญ้าที่เหมาะสมได้นั่นเอง

เครื่องตัดหญ้าเครื่องยนต์ 2 จังหวะ คือ เครื่องตัดหญ้าที่เครื่องยนต์ไม่มีวาล์ว หรือระบบหล่อลื่น น้ำหนักเบาบำรุงรักษาน้อย และมีราคาไม่แพง แต่ เครื่องตัดหญ้าแบบ 2 จังหวะจำเป็นต้องผสมน้ำมันหล่อลื่น กับน้ำมันเชื้อเพลิง(น้ำมันเบนซิน)ในอัตราส่วนที่แม่นยำ ไม่งั้นจะทำให้ควันเยอะ เครื่องหนืดและมีอายุการใช้งานสั้น แล้วการผสมน้ำมันคืออะไร? ทำกันยังไง? เรามาดูกันต่อเลย

การผสมน้ำมันเครื่องตัดหญ้า 2 จังหวะ

ก่อนการใช้งานเราต้องผสมน้ำมันหล่อลื่น auto lubeหรือ2Tกับน้ำมันเชื้อเพลิง(น้ำมันเบนซิน)เข้าด้วยกัน โดยอัตราส่วนปกติประมาณ 1:20 -1:25 หมายความว่า เราต้องใช้ น้ำมัน2T 1ส่วน ผสมน้ำมันเชื้อเพลิง(น้ำมันเบนซิน) 20-25 ส่วน  การผสมน้ำมัน2Tที่น้อยเกินไปจะทำให้เครื่องสึกหรอเร็ว อายุการใช้งานสั้น ในทางกลับกันหากเราผสมน้ำมัน2Tมากเกินไป เครื่องจะสตาร์ทติดยากควันขาวจะออกที่ไอเสียมาก เร่งเครื่องไม่ขึ้น หัวเทียนจะมีเขม่าจับมากจนไม่เกิดประกายไฟหรือที่เรียกกันว่าหัวเทียนบอด เครื่องสะดุดต้องทำการถอดล้างเครื่อง
วิธีที่ดีที่สุดในการผสมน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์ 2 จังหวะ คือ การเติมน้ำมันตามปริมาณที่ต้องการลงในถังเปล่า และผสมให้เข้ากันอย่างเหมาะสม
(ห้ามลืมผสมน้ำมันหรือผสมน้อยกว่าปริมาณที่กำหนดเด็ดขาด ไม่อย่างนั้นจะทำให้เสื้อสูบและลูกสูบติด หากใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เครื่องหลวมได้ )


เครื่องตัดหญ้า 2 จังหวะ ทำงานอย่างไร?


 

1.น้ำมันเชื้อเพลิง และเครื่องอัดอากาศในกระบอกสูบหลัก (จังหวะการบีบอัด)

2.หัวเทียนลุกไหม้ทำให้เกิดการระเบิดที่ขับเคลื่อนลูกสูบลง (จังหวะกำลัง)

3.เมื่อลูกสูบใกล้ถึงจุดสิ้นสุดของจังหวะระบบจะเปิดพอร์ตไอเสีย (จังหวะกำลัง)

4.ความดันในกระบอกสูบจะขับก๊าซไอเสียส่วนใหญ่ออกจากกระบอกสูบผ่านพอร์ตไอเสีย (จังหวะกำลัง)

5.เมื่อลูกสูบชนด้านล่างพอร์ตไอดีจะถูกเปิดออกและมีเชื้อเพลิงและอากาศมากขึ้นและดึงเข้าไปในกระบอกสูบหลักเพื่อเริ่มกระบวนการใหม่อีกครั้ง (จังหวะการบีบอัด)

กระบวนการนี้สามารถทราบได้จากจังหวะ 2 ชนิดคือ จังหวะการบีบอัด และจังหวะกำลัง จังหวะการบีบอัดคือ เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นและบีบอัดเชื้อเพลิง และอากาศหรือขั้นตอนที่ 1/5 จังหวะกำลังเป็นขั้นตอนอื่นๆ ทั้งหมดซึ่งเป็นขั้นตอนที่ก่อให้เกิดการระเบิด และสร้างพลังนั่นเอง

การดูแลรักษาหลังการใช้งาน

1.นำจารบีมาอัดหัวเกียร์(ส่วนจับใบมีด) ประมาณ 2 อาทิตย์ ครั้งหากใช้งานบ่อยควรอัดจารบีเพิ่มตามความถี่ของการใช้งาน  เพื่อช่วยถนอมหัวเกียร์ทำให้หัวเฟืองไม่ชำรุดง่าย

2.เมื่อไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานานๆ ควรเทน้ำมันที่ตัวถังน้ำมันทิ้ง แล้วทำการสตาร์ทเครื่องทิ้งไว้ให้เครื่องดับไปเอง เพื่อช่วยให้เครื่องไม่มีน้ำมันเสียค้างทำให้ไม่เสื่อมสภาพไว

3.เก็บเครื่องตัดหญ้า โดยการห่อถุงไว้ที่หัวเครื่องตัดหญ้า เพื่อไม่ให้แมลงเข้าไปทำรังที่ท่อไอเสียทำให้เครื่องเสียหาย

สรุป ข้อดี – ข้อเสีย


                                    ข้อดี
                                                         ข้อเสีย
ไม่มีวาล์ว มีโครงสร้างเรียบง่าย น้ำหนักเบา
ใช้งานต่อเนื่องได้ไม่นาน เพราะไม่มีระบบหล่อลื่น
ราคาไม่แพง
ต้องผสมน้ำมันเชื้อเพลิง และน้ำมัน2Tเพื่อหล่อลื่นเครื่องยนต์
มีกำลังสูง
ไม่ประหยัดน้ำมัน มีควันมาก
บำรุงรักษาน้อย


ข้อมูลแน่นขนาดนี้ เพื่อนๆเลือกเครื่องตัดหญ้าที่ถูกใจได้กันรึยังเอ่ย แต่ถ้ายังลังเลใจอยู่ทักมาปรึกษา WASABI กันได้นะ
ทางเรามีทีมงานผู้เชี่ยวชาญพร้อมแนะนำ และคลายข้อสงสัยให้เพื่อนๆได้อย่างแน่นอน