เลือกซื้อไฟฉาย ง่ายนิดเดียว

ไฟฉาย ที่ถ้าปกติใครๆก็คิดว่าไม่สำคัญ แต่สำหรับคนที่ชื่นชอบในการออกไปท่องเที่ยวธรรมชาติ หรือช่างที่ต้องทำงานในเวลากลางคืน ไฟฉายนั้นถือเป็นอุปกรณ์ที่ต้องมีติดตัวไว้กันอย่างแน่นอน เพราะนอกจากจะช่วยส่องสว่างแล้วเพิ่มความปลอดภัยในยามกลางคืนแล้ว บางรุ่น ยังมีฟังก์ชั่นเสริมหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นหัวที่ใช้ทุบกระจกได้ หรือชุดมีพกขนาดเล็ก เพื่อเอาไว้ใช้งานยามฉุกเฉินอีกด้วย วันนี้ MILWAULEE BY TG TOOLS เลยมาขอแนะนำวิธีเลือกซื้อไฟฉายแบบง่ายๆ ให้โดนใจตรงตามความต้องการของผู้ใช้กัน

แน่นอนว่าเทคโนโลยีไฟฉายในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นหลอดประเภท LED ซึ่งเป็นหลอดที่มีอายุการใช้งานทนทาน หลอดไม่ขาดง่าย ประหยัดไฟกว่าหลอดรุ่นเก่า ( Halogen ) ราคาไม่แพง และยังให้ความสว่างได้ดีอีกด้วย และก่อนที่จะเลือกซื้อไฟฉายนั้นเราควรเริ่นต้นดูจากความเหมาะสมที่จะนำไปใช้งานกันก่อน เพราะการใช้งานแต่ละประเภท ต้องการแสงสว่างในการทำงานที่แตกต่างกัน เช่น

 - ต้องการไฟฉายที่มีน้ำหนักเบา พกพาสะดวก เพื่อพกพาติดตัวไปด้วย

- ต้องการแบบที่สามารถปรับระดับความสว่างได้หลายระดับ เพื่อใช้งานได้หลากหลายพื้นที่

- อยากได้แบบที่ปรับซูมโฟกัสแสง ให้ขยาย - แคบได้ เพื่อใช้สำหรับงานที่ต้องการความละเอียด

- ต้องสามารถจะแขวนไว้สูงๆ เพื่อให้ความสว่างรอบบริเวณ เพื่อใช้งานในบริเวณกว้าง

- ต้องการไฟที่สามารถจะถือหรือสวมหัวใส่ได้เวลาทำงานต่างๆ เพื่อที่จะใช้ทั้งสองมือได้อย่างอิสระ

พอเลือกได้แล้วก็มาดูประเภทของไฟฉายกันต่อเลย ประเภทของไฟฉายซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทหลักดังนี้



ไฟฉาย แบบพกพา  ไฟฉายประเภทนี้มีขนาดเล็ก กระทัดรัด พกพาสะดวก สามารถกำหนดทิศทางของแสงได้มือว่าจะส่องไปทางใด เหมาะสำหรับพกพาไปยังสถานที่ต่างๆ เช่น ใช้ในงานเวิร์กช็อป การต่อเติมบ้านเล็กๆน้อยๆในมุมที่แสงสว่างไม่เพียงพอ หรือใช้กับชิ้นงานที่มีความลึก ตั้งไฟเหล่านี้ไว้บนโต๊ะหรือบนพื้นจะทำให้มองเห็นรายละเอียดชิ้นงานได้ชัดเจนยิ่งขึ้น



ไฟฉายแบบติดศีรษะ หรือคาดหัว ลักษณะคล้ายหมวกใช้สวมใส่บนศรีษะ มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับไฟฉายแบบพกพา แต่ข้อดี คือทำให้เราสามารถใช้มือทั้งสองข้างได้สะดวก ไม่ต้องถือไฟฉายเอาไว้ มีประโยชน์มากๆ เวลาเราต้องการตั้งเต็นท์ ทำกับข้าว ซ่อมผนัง กำแพงต่าง ใช้งานบนที่สูง หรือทำกิจกรรมอย่างอื่นที่ต้องใช้มือทั้งสองข้างพร้อมๆกัน



ไฟฉายแบบพับได้ ไฟฉายประเภทนี้มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ให้เลือกใช้งาน มีทั้งแบบไฟฟ้าและแบตเตอรี่ ถ้าเป็นรุ่นที่ใช้ไฟฟ้าสามารถติดตั้งบนผนังแบบถาวรได้ บางรุ่นมีแม่เหล็กทำให้สามารถยึดติดกับพื้นผิวที่เป็นโลหะช่วยเพิ่มความสะดวกในการใช้งานได้ เหมาะกับการใช้งานในอู่รถยนต์ใช่ติดกับตัวรถได้โดยตรงช่วยเพิ่มความสะดวกในการทำงานได้เป็นอย่างดี



ไฟฉายแบบตั้งพื้น ไฟฉายประเภทนี้มีขาตั้งสามารถปรับระดับสูงต่ำได้ สามารถให้แสงสว่างได้เป็นวงกว้าง เหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่ขนาดใหญ่และการทำงานในไซต์ก่อสร้างตอนกลางคืน

เรื่องสำคัญที่จะขาดไปไม่ได้เลยในการเลือกซื้อไฟฉายคือ ลูเมนหรือค่าความสว่างของแสงไฟฉาย
ลูเมน (lm) ใช้เพื่อวัดความเข้มของความสว่างที่เกิดจากไฟ LED โดยการเอาแหล่งกำเนิดแสงไว้ที่ศูนย์กลางของทรงกลม ซึ่งมีรัศมีเท่ากับ 1 ฟุต หรือ 1ลูเมนต่อตารางฟุต ใน 1 ตารางฟุต จะมีเส้นแสงมาตก 1 เส้น หรือ 1 ลูเมน ก็คือที่พื้นที่ผิวโดยรอบขนาด 12.57 ตารางฟุต ก็จะมีเส้นแสง มาตก 12.57 ลูเมนจะได้ว่า 1 cd = 12.57 lm  ยิ่งค่าลูเมนสูงเท่าไหร่ แสงก็จะยิ่งสว่างขึ้นเท่านั้น  ไฟฉายที่มีคุณภาพสูงส่วนใหญ่จะสามารถตั้งค่าความสว่างในการใช้งานได้หลากหลายตั้งแต่ 2,00010,000 ลูเมน เลยทีเดียว

แหล่งพลังงาน

การเลือกชนิดของแหล่งพลังงาน ที่ใช้งานก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันเพราะถ้าพลังงานหมดไฟฉายก็ไม่สามารถให้แสงสว่างได้ ซึ่งในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบของแหล่งจ่ายพลังงานให้เลือกใช้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

1 แบบใช้แล้วทิ้ง

- ถ่านเขียว ถ่านดำ ถ่านไฟฉายทั่วไป เป็นสารประกอบจาก Zinc Chloride เป็นตัวเลือกที่สะดวกสบาย หาง่าย และราคาไม่แพง แต่มีความจุที่น้อยจึงอาจต้องเปลี่ยนบ่อย ถ่านเขียว เหมาะกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการกำลังไฟมาก เช่น ไฟฉาย หรือมอเตอร์ เป็นต้น ส่วนถ่านดำ จะเหมาะกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการกำลังไฟน้อยแต่ยาวนานกว่า เช่น นาฬิกา เป็นต้น ถ้าต้องการใช้งานในพื้นที่กันดาร ห่างไกล ควรพกถ่านสำรองติดตัวไปด้วยอยู่เสมอ

- ถ่านอัลคาไลน์ หรือ Alkali metal hydroxide เป็นสารประกอบที่ให้กำลังไฟฟ้าได้เสถียรกว่า จึงเหมาะกับอุปกรณ์ที่ต้องการกำลังไฟมากมีราคาไม่แพงเช่นกัน ใช้ได้นาน และเวลาพลังงานที่มีใกล้จะหมด มันจะค่อยๆ หรี่ลงทีละนิดๆ ทำให้เรารู้ได้ว่าใกล้เวลาที่แบตเตอรี่จะหมดแล้ว

*** ถ่านไฟฉายแบบใช้แล้วทิ้งมีสารประกอบที่เป็นพิษบรรจุอยู่จึงไม่ควรแกะออก ***

2 ถ่านไฟฉายแบบชาร์จได้

- Ni-Cd (นิเกิล-แคดเมียม) หรือถ่านชาร์จในยุคแรก ให้กำลังไฟที่ 1.2 V แต่มีความจุที่ต่ำ และเมื่อชาร์จด้วยความเร็วมักมีอุณภูมิสูง และยังมี Memory Effect ที่ทำให้การชาร์จเมื่อยังใช้ไม่หมดนั้นไปทำให้ความจุของถ่านลงลดเรื่อย ๆ และคลายประจุไฟฟ้าเร็วอีกด้วย จึงทำให้เสื่อมความนิยมลงเมื่อมีถ่านประเภท Ni-MH เข้ามาแทนที่

- Ni-MH (นิกเกิล เมทัลไฮไดรต์) เป็นถ่านชาร์จที่เข้ามาแทนที่ ถ่านแบบ Ni-Cd ให้กำลังไฟที่ 1.2 V เท่ากัน แต่มีความจุที่มากกว่า ทั้งยังมี Memory Effect ที่ต่ำกว่ามาก จึงทำให้ใช้งานได้ยาวนานคุ้มค่า ทั้งยังสามารถชาร์จซ้ำเมื่อไรก็ได้อีกด้วย ปัจจุบันถ่านแบบ Ni-MH ยังคงได้รับความนิยมมากที่สุด แม้ว่าจะมีถ่านชาร์จแบบ Li-ion ที่มีคุณสมบัติดีกว่าเข้ามาในตลาดแล้วก็ตาม

- Li-Po (ลิเธียมพอร์ลิเมอร์) มักใช้ในอุปกรณ์เครื่องบินไฟฟ้า Drone หรือ รถบังคับวิทยุ สามารถเก็บพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่าแบบ Ni-Cd (นิเกิล-แคดเมียม)ถึง 350 % และน้ำหนักที่น้อยกว่า 1020 % โดยประมาณ แต่มีข้อเสียที่สำคัญคือเมื่อจ่ายไฟมากๆจะเกิดความร้อนสูง อาจเกิดการบวมจนระเบิดได้หากถูกใช้ในวงจรที่ไม่ได้มาตรฐาน และจำเป็นอย่างมากที่ต้องมีเครื่องชาร์จที่เหมาะสมโดยเฉพาะ

- Li-ion (ลิเธียมไอออน) ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน มักเห็นในถ่านขนาด 18650 ซึ่ง Li-ion สามารถให้กำลังไฟได้ถึง 3.7 V และมีความจุที่สูงกว่า Ni-MH มาก มีความปลอดภัย และสามารถใช้งานกับอุปกรณ์ได้หลากหลาย  ทั้งอุปกรณ์งานช่าง แบตโทรศัพท์มือถือ หรือแม้แต่ในคอมพิวเตอร์พกพาก็ตาม

ระดับ IP  หรือ Ingress Protection Ratings  คือ มาตรฐานการป้องกันน้ำเเละฝุ่น ที่คณะกรรมการ Electrotechnical ระหว่างประเทศจัดสรรให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ถูกกำหนดให้เป็นความสามารถของอนุภาคที่เข้าสู่อุปกรณ์ไฟฟ้า ดังนั้น ระดับ IP ที่สูงขึ้นหมายถึงความปลอดภัย และการป้องกันส่วนประกอบไฟฟ้าจากความเสียหายทำให้อุปกรณ์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 


ค่า IP จะแสดงด้วยตัวเลข 2 หลักคือ รูปแบบการแสดงมาตรฐานจะเป็น IPXX  ซึ่ง XX เช่น IP65 IP67 IP68 เป็นต้น  ตัวเลขหลักที่ 1 หมายถึงการป้องกันจากของแข็ง ซึ่งจะมีตั้งแต่ 0-6 เเละตัวเลขหลักที่ 2 หมายถึงการป้องกันจากของเหลว ซึ่งจะมีตั้งแต่ 0-8

ตัวเลขหลักเเรก ป้องกันของเเข็ง

ระดับ 0 ไม่มีการป้องกันใดๆได้เลย

ระดับ 1 มีการป้องกันจากของแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่า 50มิลลิเมตรขึ้นไปเข้าในอุปกรณ์

ระดับ 2 มีการป้องกันจากของแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่า 12 มิลลิเมตรขึ้นไปเข้าในอุปกรณ์

ระดับ 3 มีการป้องกันจากของแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่า 2.5 มิลลิเมตรขึ้นไปเข้าในอุปกรณ์

ระดับ 4 มีการป้องกันจากของแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่า 1 มิลลิเมตรขึ้นไปเข้าในอุปกรณ์

ระดับ 5 มีการป้องกันจากฝุ่นผงละออง สามารถมีฝุ่นเล็ดลอดเข้าไปในอุปกรณ์ได้เล็กน้อยแต่ต้องเป็นฝุ่นละอองของสารที่ไม่ทำให้เกิดอันตราย

ระดับ 6 การป้องกันจากฝุ่นผงละอองของสารที่อาจทำให้เกิดการกัดกร่อนและสามารถป้องกันฝุ่นได้เต็มที่ร้อยเปอร์เซ็นต์

 

ตัวเลขหลักที่สอง ป้องกันของเหลว

ระดับ 0 ไม่มีการป้องกันจากของเหลวใดๆได้เลย

ระดับ 1 มีการป้องกันจากหยดน้ำที่หยดลงมาในแนวดิ่ง

ระดับ 2 มีการป้องกันจากหยดน้ำที่หยดลงกระทบทำมุม 15 องศาจากแนวดิ่ง

 

ระดับ 3 มีการป้องกันจากน้ำฝนที่ตกกระทบทำมุม 60 องศาจากแนวดิ่งโดยไม่ก่อเกิดความเสียหายกับอุปกรณ์

ระดับ 4 มีการป้องกันจากน้ำได้รอบทุกทิศทางโดยมีโอกาสที่น้ำจะเข้าไปได้เล็กน้อย

ระดับ 5 มีการป้องกันจากสายน้ำ (jet water) ได้รอบทุกทิศทางโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์

ระดับ 6 มีการป้องกันจากสายน้ำ (jet water) ที่มีแรงคล้ายๆกับน้ำทะเลสามารถป้องกันน้ำจากหัวฉีดขนาด 12.5 มิลิเมตรได้รอบทิศทางได้โดยมีโอกาสที่น้ำจะเข้าไปได้เล็กน้อย

ระดับ 6K มีการป้องกันจากสายน้ำ (jet water) ที่มีแรงคล้ายๆกับน้ำทะเลสามารถป้องกันน้ำจากหัวฉีดขนาด 6.3 มิลิเมตรได้รอบทิศทางได้โดยมีโอกาสที่น้ำจะเข้าไปได้เล็กน้อย

ระดับ 7 มีการป้องกันจากผลกระทบที่เกิดจากการจุ่มลงในน้ำได้ป้องกันการแทรกซึมของน้ำเข้าไปในอุปกรณ์เมื่อนำอุปกรณ์ลงไปแช่น้ำในความลึกสูงสุด 1 เมตร

ระดับ 8 มีการป้องกันจากผลกระทบที่เกิดจากการจุ่มลงในน้ำภายใต้แรงกดดันได้ ป้องกันการแทรกซึมของน้ำเข้าไปในอุปกรณ์เมื่อนำอุปกรณ์ลงไปแช่น้ำในความลึกที่มากกว่า 1 เมตร

ระดับ 9K มีการป้องกันจากสายน้ำ (jet water) ที่มีแรงดันสูงพิเศษสามารถป้องกันน้ำได้รอบทิศทาง ที่อุณหภูมิน้ำสูงสุด 80ºC

 

เป็นยังไงกันบ้างเอ่ยกับการเลือกซื้อไฟฉาย แบบง่ายๆจาก MILWAULEE BY TG TOOLS ถูกใจเพื่อนๆพี่ๆกันรึเปล่า ถ้าชอบบทความแบบนี้ คิดว่ามีประโยชน์ก็อย่าลืมกดติดตามพวกเรากันไว้นะ

ติดต่อสอบถาม

Facebook: Milwaukee by TG TOOLS

Tel: โทร 02-225-2331 (วันจันทร์-เสาร์ เวลา 08.00-17.00น.)

ที่ตั้งบริษัท: https://g.page/tirawat-air-compressors-co--ltd-?share