โรงงานใหญ่ทำไมต้องใช้ปั๊มลมสกรู


โรงงานหลายหลายที่อาจต้องใช้พลังงานลมในการทำงานแต่ปั๊มลมทั่วไปตามท้องตลาดนั้นไม่สามารถผลิตลมได้เพียงพอต่อการใช้งานวันนี้เลยจะมาขอแนะนำให้ทุกท่านรู้จักปั๊มลมสกรู

 

ปั๊มลมสกรูคืออะไร?

เป็นปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศชนิดหนึ่งเริ่มใช้ในอุตสาหกรรม ในปี พ.. 2430 หลักการทำงานเบื้องต้น คือ ใช้สกรูเกลียวคู่ที่หมุนพันกันเพื่ออัดอากาศ ภายในชุดสกรูประกอบไปด้วยสกรูตัวผู้ และสกรูตัวเมีย ประกอบกันโดยมีชุดลูกปืนเป็นตัวประคองเพลา หมุนด้วยความเร็วประมาณ 3,000 รอบ/นาที เพื่อสร้างกำลังอัดด้านดูด และส่งลมเข้าไปในระบบ หลักการคือเพลาสกรูสองตัว (เพลาสกรูตัวผู้และเพลาสกรูตัวเมีย) หมุนเข้าหากันดูด และอัดอากาศผ่านเกลียวสกรู ปั๊มลมสกรูโดยทั่วไปสามารถสร้างแรงดันลมได้ 13 บาร์ และถูกนำมาใช้บ่อยที่สุดในงานอุตสาหกรรมสำหรับสายการผลิตที่ใช้ระบบลมและระบบสายพานลำเลียง



หลักการทำงาน

1.สกรูหรือโรเตอร์แบบเกลียวที่ปิดไว้สองตัวจะหมุนอย่างรวดเร็ว โดยขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์อัดอากาศ

2.การหมุนของสกรูจะดันอากาศเข้าไปในช่องระบายอากาศ สิ่งนี้จะสร้างสุญญากาศซึ่งดึงอากาศเข้าไปในห้องมากขึ้นผ่านช่องอากาศเข้าของปั๊มลม

3.เมื่ออากาศเคลื่อนผ่านช่องที่ต่อเนื่องกันของโรเตอร์ที่จับคู่ อากาศจะถูกบีบให้มีปริมาตรน้อยลง ส่งผลให้เกิดการอัดอากาศ

4.อากาศอัดออกจากชุดสกรู ซึ่งสามารถดักจับ ทำให้แห้ง กรอง และใช้งานหรือจัดเก็บได้



ประเภทของ ปั๊มลมสกรู

ปั๊มลมสกรูก็สามารถแบ่งประเภทได้เหมือนปั๊มลมทั่วไป โดยแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ ปั๊มลม สกรูแบบใช้น้ำมัน (Oil-Injected) ในการหล่อลื่นชุดสกรู อีกทั้งน้ำมันจะช่วยป้องกันไม่ให้เครื่องร้อนจนเกินไป  หลังจากจบกระบวนการแล้ว น้ำมันจะถูกแยกออกไปโดยเครื่องแยก แต่ลมที่ได้อาจจะมีน้ำมันปะปนมาอยู่บ้าง ซึ่งสามารถใช้ตัวกรองช่วยลดน้ำมันที่ปะปนมากับลมได้ ปั๊มลมสกรูรูปแบบนี้ส่วนมากมักถูกใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมแบบทั่วไปที่ไม่ได้ต้องการลมสะอาดมากปั๊มลมสกรูแบบไร้น้ำมัน (Oil-Free) ปั๊มลมสกรูชนิดนี้เนื่องจากไม่มีน้ำมันช่วยในการหล่อลื่น จึงต้องใช้กระบวนการอัดแบบสองขั้นตอนให้อากาศผ่านอินเตอร์คูลเลอร์ระหว่างขั้นตอนการบีบอัดเพื่อลดอุณหภูมิและป้องกันความร้อนสูงเกินไป ลมที่ได้ออกมาจะมีความสะอาดมากกว่า ปั๊มลมสกรูแบบใช้น้ำมัน แต่ตัวเครื่องจะมีราคาที่สูงกว่า และบำรุงรักษายากกว่าปั๊มลมปั๊มลมสกรูแบบใช้น้ำมัน ส่วนใหญ่ปั๊มลมชนิดนี้จะถูกใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและยา หรืออุตสาหกรรมที่ต้อการใช้ลมสะอาดเป็นพิเศษ

 

แล้วทำไมต้องใช้ปั๊มลมสกรู ?

- ปั๊มลมสกรูจะผลิตลมได้มากกว่าปั๊มลมลูกสูบ ประมาณ 20-30% เมื่อเทียบกับมอเตอร์ขับที่มีแรงม้าเท่ากัน เพราะ มีระบบสตาร์ตที่เป็นมอเตอร์แบบสตาร์-เดลต้า (Star-Delta)ทำให้แรงบิดที่ไม่สูงมากจนเกินไปและให้พลังงานลมได้อย่างต่อเนื่อง

- ปริมาณไอน้ำมันที่เกิดขึ้นขณะเดินเครื่อง มีการปะปนกับลมอัดที่ต่ำมาก ประมาณ 5-7มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งช่วยยึดอายุให้กับอุปกรณ์ลมต่างๆ

- มีเสียงมีเบากว่าปั๊มลมแบบลูกสูบ ปั๊มลมสกรูจะมีการทำงานที่ราบเรียบ สม่ำเสมอ และมีการอัดอากาศที่คงที่ ทำให้เครื่องยนต์มีความเงียบมากกว่าในขณะที่มีการใช้งาน

- ติดตั้งง่ายเพียงต่อท่อเข้ากับเครื่องอัดลมและต่อสายไฟเข้าก็สามารถเดินเครื่องได้ทันที โดยไม่ต้องสร้างฐานรองรับเครื่อง เพราะเครื่องอัดลมแบบสกรูมีความสั่นสะเทือนน้อย

- มีให้เลือกหลายขนาด เนื่องจากถูกผลิตให้เลือกใช้ในงานอุตสาหกรรมที่หลากหลายจึงมีขนาดของกำลังไฟที่แตกต่างกันตั้งแต่ 4kW จนถึง 600kW นอกจากนี้ ยังมีเครื่องปั๊มลมสกรูแบบ Oil-Free หรือเครื่องปั๊มลมแบบไร้น้ำมันที่ทำให้ได้ลมสะอาด เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร หรือโรงงานผลิตยา เป็นต้น

- ประหยัดพลังงาน เนื่องจากมีการควบคุมแบบอัตโนมัติ (Automatic Dual Control) มักนิยมใช้ควบคุมเครื่องอัดอากาศประเภทหมุนเหวี่ยง เพื่อช่วยหลีกเลี่ยงการสูญเสียของอากาศที่ถูกอัดจากการทำงาน และทำให้เครื่องจักรสามารถทำงานต่อไปได้โดยไม่หนักจนเกินไป อีกทั้งยังกินกระแสไฟที่ต่ำในตอนสตาร์ต ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานได้มากกว่าแบบปั๊มลมลูกสูบ

ปั๊มลมสกรูมีค่าใช้จ่ายล่วงหน้ามากกว่า แต่จะประหยัดเงินในระยะยาว ปั๊มลมสกรูสามารถใช้งานได้ 60,000 - 80,000 ชั่วโมง หรือ 7-9 ปีเลยทีเดียว

- มีอุณหภูมิที่เย็นกว่า ปั๊มลมสกรูมีอุณหภูมิการทำงานภายในโดยทั่วไปสำหรับปั๊มลมสกรูอยู่ที่ ~ 80-99°F สำหรับการเปรียบเทียบ ปั๊มลมลูกสูบทำงานที่อุณหภูมิภายในประมาณ 150-200 องศาฟาเรนไฮต์ อุณหภูมิที่ต่ำกว่าหมายถึงการทำงานน้อยลงสำหรับเครื่องทำความเย็นและเครื่องทำลมแห้งซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานมากขึ้น

 

ข้อเสียของปั๊มลมสกรู

ไม่ใช่ว่าปั๊มลมสกรูจะมีแต่ข้อดีเพียงอย่างเดียว แต่ปั๊มลมสกรูก็มีข้อด้อยที่ไม่เหมาะกับงานหรือการทำงานบางประเภทอยู่เช่นกันจึงควรพิจารณาในส่วนนี้ก่อนที่จะตัดสินใจใช้งานปั๊มลมสกรูด้วย

- การลงทุนที่สูงขึ้น ปั๊มลมสกรูต้องใช้เงินลงทุนเริ่มต้นที่สูงกว่า ปั๊มลมลูกสูบที่มีเอาต์พุต CFM ใกล้เคียงกัน

- ปั๊มลมสกรูมีความซับซ้อนมากในการบำรุงรักษามากกว่าปั๊มลมลูกสูบ ซึ่งต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการซ่อมบำรุงที่มีทักษะและผ่านการฝึกอบรมทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นตามมาด้วย

- ต้องการสภาพแวดล้อมที่สะอาดในการทำงาน อากาศที่เข้ามาในปั๊มลมสกรูควรสะอาดที่สุด เพราะไม่งั้นอาจเกิดปัญหากับตัวเครื่อง หรือต้องมีการบำรุงรักษาที่บ่อยกว่าปกติ ในกรณีที่ต้องใช้งานในพื้นที่ ที่มีฝุ่นเยอะจริงๆควรมีที่ป้องกันตัวกรองที่ช่วยลดปริมาณอนุภาคของฝุ่นที่จะเข้ามาในปั๊มลมได้

- ไม่ควรใช้สำหรับการใช้งานที่ไม่ต่อเนื่อง ปั๊มลมสกรูออกแบบมาเพื่อการทำงานต่อเนื่องและรอบการทำงาน 100%  หรือหากความต้องการใช้อากาศไม่คงที่ การเลือกมอเตอร์แบบปรับความเร็วได้จะช่วยให้ปั๊มลมเพิ่มการผลิตอากาศขึ้นและลงได้ตามความต้องการในการใช้งาน

 

ข้อกำหนดในการบำรุงรักษา ปั๊มลมสกรู

ปั๊มลมสกรูต้องมีการตรวจสอบและบำรุงรักษาอยู่เป็นประจำเพื่อให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและปกป้องระบบจากการสึกหรอมากเกินไป

- ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกๆ 4,000-8,000 ชั่วโมง แต่ถ้า หากปั๊มลมสกรูทำงานในสภาพแวดล้อมที่สกปรก อาจต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องบ่อยขึ้น

- ตรวจสอบระดับน้ำมันและตรวจสอบน้ำมันเพื่อหาสิ่งปนเปื้อนอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

- ควรระบายและล้างน้ำมันออกให้หมด และเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเครื่องหลังล้างอย่างน้อยปีละครั้ง

- ควรเปลี่ยนตัวกรองอากาศอย่างน้อยทุกๆ 2,000 ชั่วโมง หรือบ่อยกว่านั้นหากใช้งานในสภาพแวดล้อมที่สกปรก

- ควรระบายน้ำสำหรับปั๊มลมสกรูอย่างน้อยทุกวัน วันละหนึ่งครั้ง หรือให้ใช้วาล์วระบายน้ำอัตโนมัติตั้งค่าวาล์วระบายน้ำตามเวลาอย่างสม่ำเสมอ